วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกัมพูชา

            
            แรกเดิมชาวกัมพูชานับถือศาสนาพราหมณ์และฮินดู และมานับถือพระพุทธศาสนาทีหลัง  พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศกัมพูชา ราวพุทธศตวรรษที่ 8 ในช่วงอาณาจักรฟูนันกำลังรุ่งเรือง โดยได้รับเอานิกายมหายานมานับถือ เพราะในสมัยนั้นได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีนและอินเดีย จึงได้รับอิทธิพลศาสนามหายานมาด้วย หลังจากอาณาจักรฟูนันสิ้นอำนาจลง อาณาจักรเจนละ  ได้เข้ามามีอำนาจและรุ่งเรือง แต่ว่ายังนับถือศาสนาฮินดูอยู่

            พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรกัมพูชาในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน  (พ.ศ. 1021 – 1057)  เป็นครั้งแรก แต่ว่าไม่ได้รับการนับถือเต็มที่ เพราะยังมีการนับถือศาสนาพราหมณ์อยู่ พระพุทธศาสนาและศาสนาพรามหณ์ได้รับการนับถือคู่กันมีความเจริญและความเสื่อมไม่คงที่ อยู่ที่กษัตริย์ในสมัยนั้นจะทรงนับถือศาสนาใด  พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5  (พ.ศ. 1511 – 1544)  โดยมีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาและได้นำคัมภีร์จากต่างประเทศมาสู่อาณาจักรเป็นจำนวนมาก

            ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่  1  (พ.ศ. 1545 – 1593)  ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่ได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด    จนถึงในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่  7  ( พ.ศ. 1724 – 1761) ประมาณพุทธศตวรรษที่  18  พระพุทธศาสนาแบบมหายานได้เจริญรุ่งเรืองเต็มที่  ให้สร้างวัดมหายาน  ทรงตั้งลัทธิพุทธราชแทนลัทธิเทวราช  ให้สร้างนครธม เป็นราชธานี  ให้สร้างวิหาร        “ปราสาทบายน”   ให้สร้างพระพุทธรูปชื่อว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” ประดิษฐานไว้ตามเมืองต่าง ๆ  ทั่วราชอาณาจักร  ทรงนิมนต์พระสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในพระราชวังทุกวัน ๆ  ละ  400  รูป

            เมื่อสิ้นยุคยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว พระพุทธศาสนามหายานได้เสื่อมลง และพระพุทธศาสนาหินยาน ได้เจริญเข้ามาแทนที่

            พ.ศ. 2384   ในสมัยพระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี   ได้นำนิกายธรรมยุติจากเมืองไทยไประดิษฐาน  ได้จักตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมชั้นสูงในกรุงพนมเปญ  ที่ชื่อว่า  “ศาลาบาลีชั้นสูง” 
พ.ศ. 2410  กัมพูชา  ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พระพุทธศาสนาได้เสื่อมลง 
พ.ศ. 2497  กัมพูชา  ได้รับเอกราชในสมัยพระเจ้านโรดมสีหนุ  พระพุทธศาสนาได้เริ่มต้นขึ้นอีก  และได้ประกาศเป็นศาสนาประจำชาติ

            หลังจากนั้นกัมพูชาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองกองทัพคอมมิวนิสต์  พระพุทธศาสนาจึงได้ถึงภาวะวิกฤตอีก ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองไม่มีความสงบสุข  พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา จึงไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น