วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ ม.2


สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ

การอยู่ร่วมกันในสังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติ เพื่อจะได้ควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติตนของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย   ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สังคมสงบสุข นั่นคือ สมาชิกในสังคมจะต้องปฏิบัติตนให้ตรงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ที่ตนพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการศึกษาถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยนั้น   จะช่วยเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ชอบธรรมเพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไป

สถานภาพ หมายถึง ฐานะหรือเกียรติภูมิของบุคคลหรือกลุ่ม เป็นตำแหน่งของบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งทีได้รับความนับถือจากสาธารณชน
กล่าวโดยสรุป สถานภาพเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้น เป็นสิ่งกำหนดเฉพาะตัวบุคคลที่ทำให้แตกต่างจากผู้อื่น
สถานภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่
สถานภาพทางวงศาคณาญาติ เช่น เป็นลูก หลาน พี่น้อง
สถานภาพทางเพศ เช่น เพศหญิง เพศชาย
สถานภาพทางอายุ เช่น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่
สถานภาพทางเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนอังกฤษ
สถานภาพทางถิ่นกำเนิด เช่น คนในภาคเหนือ คนในภาคใต้
สถานภาพทางชนชั้นในสังคม เช่น เชื้อพระวงศ์ คหบดี หรือชนชั้นต่างๆ ในกลุ่มชนที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ชนชั้นพราหมณ์
สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หมายถึง สถานภาพที่ได้จากการแสวงหาหรือได้มาจากความสามารถของตนเอง ได้แก่
สถานภาพทางการศึกษา เช่น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
สถานภาพทางอาชีพ เช่น เป็นครู เป็นหมอ หรือนักการเมือง
สถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เป็นนายกรัฐมนตรี
สถานภาพทางการสมรส เช่น โสด สมรส ม่าย
สังคมศึกษา ม.2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น