วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศลาว
จากการสันนิษฐาน พระพุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้ามาสู่ประเทศลาวในตอนแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 7 (นิกายตันตระ) มีการนับถือผีสาง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจีน เมื่อถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1890) เป็นกษัตริย์องค์แรก พระองค์ได้รับเอาพระพุทธศาสนามาจากกัมพูชามานับถือ โดยได้ไปรับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ของขอม (พระเจ้าศรีจุลราช) แล้วได้อภิเษก
สมรสกับพระราชธิดาของพระองค์ คือพระนางแก้วยอดฟ้า ซึ่งนับถือพุทธแบบเถรวาท เมื่อย้ายมาอยู่อาณาจักรล้านช้าง พระนางเห็นชาวเมืองนับถือบูชาลัทธิผีสางเทวดา จึงให้เจ้าฟ้างุ้มไปทูลขอพระสงฆ์ผู้แตกฉานในพระธรรมและพระไตรปิฎกจากกัมพูชามาเผยแผ่ในราชอาณาจักรลาว
พระเจ้ากัมพูชา ได้ทรงส่งพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกากับพระสงฆ์อีก 20 รูปและนักปราชญ์ผู้เรียนจบพระไตรปิฎกอีก 3 คน และพระราชทานพระพุทธรูป “พระบาง” และหน่อพระศรีมหาโพธิ์ และช่างหล่อพระพุทธรูปไปมาถวายเจ้าฟ้างุ้มด้วย แต่นั้นมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เจริญอยู่ในประเทศลาว และได้เป็นศาสนาประจำชาติ กษัตริย์ลาวแต่นั้นมาได้ทรงเอาใจใส่ต่อพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมา โดยได้สร้างวัดและโรงเรียน หอสมุดเกี่ยวกับการค้นคว้าพระไตรปิฎกหลายแห่ง
ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091 – 2114 ) เป็นกษัตริย์มหาราชองค์ที่ 2 ของลาว พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองสุดขีด พระองค์ได้โปรดให้สร้างศาสนสถานมากมาย เช่น พระธาตุหลวง พระธาตุบังพวน ที่ จ.หนองคาย พระธาตุศรีสองรัก จ. เลย พระธาตุศรีโคตรบูรที่แขวงคำม่วน พระธาตุอิงรัง ที่แขวงสุวรรณเขต วัดพระธาตุ และวัดศรีเมือง จ.หนองคาย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม และได้สร้างพระพุทธรูปอีกหลายองค์ เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พระเสริม พระสุก และพระใส พระอินทร์แปลง พระอรุณ พระองค์แสน กล่าวได้ว่าศาสนสถานที่ลาวได้สร้างขึ้นในสมัยพระองค์ทั้งนั้น หลังจากรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา พระพุทธศาสนาเป็นไปตามปกติ พ.ศ. 2436 ลาวตกอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส พระพุทธศาสนาก็ตกอยู่ในสถานะที่เสื่อมโทรมไปบ้าง พ.ศ. 2492 ลาวได้รับเอกราช พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก
ประเทศไทยกับลาวมีความสัมพันธ์กัน ประเพณีวัฒนธรรมทางศาสนามีความเหมือนกัน แต่ว่าเหตุการณ์ในประเทศลาวไม่ค่อยมีความสงบสุข พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้รับการนับถือ แต่ว่าคนลาวก็ไม่ทิ้งพระพุทธศาสนา ฯ
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกัมพูชา |
แรกเดิมชาวกัมพูชานับถือศาสนาพราหมณ์และฮินดู และมานับถือพระพุทธศาสนาทีหลัง พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศกัมพูชา ราวพุทธศตวรรษที่ 8 ในช่วงอาณาจักรฟูนันกำลังรุ่งเรือง โดยได้รับเอานิกายมหายานมานับถือ เพราะในสมัยนั้นได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีนและอินเดีย จึงได้รับอิทธิพลศาสนามหายานมาด้วย หลังจากอาณาจักรฟูนันสิ้นอำนาจลง อาณาจักรเจนละ ได้เข้ามามีอำนาจและรุ่งเรือง แต่ว่ายังนับถือศาสนาฮินดูอยู่
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรกัมพูชาในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน (พ.ศ. 1021 – 1057) เป็นครั้งแรก แต่ว่าไม่ได้รับการนับถือเต็มที่ เพราะยังมีการนับถือศาสนาพราหมณ์อยู่ พระพุทธศาสนาและศาสนาพรามหณ์ได้รับการนับถือคู่กันมีความเจริญและความเสื่อมไม่คงที่ อยู่ที่กษัตริย์ในสมัยนั้นจะทรงนับถือศาสนาใด พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511 – 1544) โดยมีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาและได้นำคัมภีร์จากต่างประเทศมาสู่อาณาจักรเป็นจำนวนมาก
ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545 – 1593) ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่ได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด จนถึงในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ.ศ. 1724 – 1761) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 พระพุทธศาสนาแบบมหายานได้เจริญรุ่งเรืองเต็มที่ ให้สร้างวัดมหายาน ทรงตั้งลัทธิพุทธราชแทนลัทธิเทวราช ให้สร้างนครธม เป็นราชธานี ให้สร้างวิหาร “ปราสาทบายน” ให้สร้างพระพุทธรูปชื่อว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” ประดิษฐานไว้ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ทรงนิมนต์พระสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในพระราชวังทุกวัน ๆ ละ 400 รูป
เมื่อสิ้นยุคยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว พระพุทธศาสนามหายานได้เสื่อมลง และพระพุทธศาสนาหินยาน ได้เจริญเข้ามาแทนที่
พ.ศ. 2384 ในสมัยพระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ได้นำนิกายธรรมยุติจากเมืองไทยไประดิษฐาน ได้จักตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมชั้นสูงในกรุงพนมเปญ ที่ชื่อว่า “ศาลาบาลีชั้นสูง”
พ.ศ. 2410 กัมพูชา ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พระพุทธศาสนาได้เสื่อมลง
พ.ศ. 2497 กัมพูชา ได้รับเอกราชในสมัยพระเจ้านโรดมสีหนุ พระพุทธศาสนาได้เริ่มต้นขึ้นอีก และได้ประกาศเป็นศาสนาประจำชาติ
หลังจากนั้นกัมพูชาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองกองทัพคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาจึงได้ถึงภาวะวิกฤตอีก ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองไม่มีความสงบสุข พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา จึงไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างเต็มที่
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า ม.2
สันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศพม่า สมัยเดียวกับประเทศไทย คือ ประมาณก่อน พ.ศ. 300 โดยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งสมณฑูต คือ พระโสณะและพระอุตระ เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ประมาณ พ.ศ. 234 - 235
พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในระยะแรกเป็นแบบนิกายเถรวาท หรือหินยาน ประดิษฐานอยู่ในพม่าใต้ คือ มอญในครั้งนั้น มีเมืองหลวงคือเมืองสะเทิมหรือสุธรรมบุรี ส่วนพม่าเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง ได้รับเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายาน หรืออาจริยวาทซึ่งเผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริสสาของอินเดีย
ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 16 (พ.ศ. 1587) พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรือ อโนรธามังช่อ ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงรวบรวมดินแดนของพม่าให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน และทรงสถาปนาเมืองพุกามขึ้นเป็นธานี และพระองค์ทรงศรัทธาเลื่อมในในนิกายเถรวาทมากกว่ามหายาน จึงได้ส่งพระราชสาสน์ไปถึงพระเจ้ามนูหะ ผู้ครองเมืองสุธรรมวดี ทูลขอพระไตรปิฏกไปยังเมืองพุกามแต่ว่าพระเจ้ามนูหะไม่ยินยอม จึงเกิดการสู้รบกัน และพระเจ้าอนุรุทธะทรงชนะแล้วได้ทำลายเมืองสุธรรมวดี และนำพระสงฆ์มอญและพระไตรปิฎกขึ้นไปเมืองพุกาม ส่งผลให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แผ่ขยายไปทั่วอาณาจักรพม่านับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ใน พ.ศ. 1733 ในสมัยพระเจ้านรปติสิทธุ ได้ส่งพระภิกษุสามเณรไปนำเอาพระพุทธศาสนาแบบลังกามาเผยแผ่ในพม่า พ.ศ.1827 - 1830 พม่าถูกรุกรานจากพวกมองโกล ทำให้อาณาจักรต่างๆ แยกตัวเป็นอิสระ โดยเฉพาะมอญ พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมลง
สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ. 2003 – 2004) ขึ้นครองราชย์ ได้เริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาใหม่ ได้ส่งพระสงฆ์และฆราวาสเดินทางไปลังกา แล้วไปบวชใหม่ และนำพระพุทธศาสนากลับมาเมืองพม่าอีก หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาในพม่าก็มีความเจริญและเสื่อมลงสลับกันไปตามเหตุการณ์บ้านเมือง
พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ามินดง (พ.ศ. 2395 – 2420) พระองค์ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 5 ณ เมืองมัณฑเลย์ และให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อน และทำสถูปครอบไว้ ซึ่งขณะนี้ยังปรากฏอยู่ที่เชิงเขาเมืองมัณฑะเล
พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สถาบันกษัต-ริย์ถูกล้มลง ส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับการกระทบกระเทือนไปด้วย แต่ว่าชาวพม่าก็ยังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยู่
พ.ศ. 2491 พม่าได้รับเอกราช พระพุทธศาสนาได้รับการทะนุบำรุง
พ.ศ. 2493 ได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยอาราธนาพระจากประเทศอินเดีย ลังกา เนปาล ไทย กัมพูชา ลาว และปากีสถาน ไปทำสังคายนาร่วมกับพระสงฆ์พม่าอีก 500 รูป
พ.ศ. 2504 รัฐบาลออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ตั้งแต่นั้นมา
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)