วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ สิทธิผู้บริโภค ม.2

รอโหลดนิดนึงนะจะ


สังคมศึกษา ม.2

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลาว ม.2

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลาว


พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาวสมัยอาณาจักรหนองแส ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ้ม(ประมาณ พ.ศ. 1890) ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าผีฟ้า เจ้าฟ้างุ้มได้อภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าศรีจุลราช กรุงอินปัตถ์ในราชอาณาจักรกัมพูชา


เมื่อเจ้าฟ้างุ้มได้ตีเมืองหลวงพระบางและเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1896 พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวสำหรับพระนางแก้วยอดฟ้าพระนางเองทรงเลื่อมใสและเคารพนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เมื่อพระนางเสด็จมาประทับ ณ อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งขณะนั้นชาวอาณาจักรล้านช้างยังนับถือลัทธิผีสางเทวดาอยู่พระนางจึงกราบทูลให้เจ้าฟ้างุ้มแต่งคณะฑูตไปทูลของพระสงฆ์จากพระเจ้าศรีจุลราชและพระเจ้าศรีจุลราชก็ได้ทรงให้ความร่วมมือโดยส่งพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมพระสงฆ์อีก 20 รูป เดินทางนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังดินแดนประเทศลาว พร้อมกับได้พระราชทานพระพุทธรูปปัญจโลหะองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระบาง”พร้อมด้วยพระไตรปิฎก และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวายแก่เจ้าฟ้างุ้มด้วยนับแต่นั้นมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ได้ประดิษฐานในประเทศลาวและได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติในที่สุดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบมา 


จนถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091 – 2114) พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ได้ทรงนำพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่มาไว้ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทร์ ก็ทรงนำพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองเวียงจันทร์ด้วย และได้ทรงโปรดฯให้สร้างพระธาตุหลวงไว้ที่นี้ด้วย


 เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระพุทธศาสนาในประเทศลาวไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนักแต่ด้วยเหตุที่ประเทศลาวกับประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้ประเทศทั้ง 2 มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นต่อกัน ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางศาสนามาโดยตลอดและเมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436พระพุทธศาสนาก็เสื่อมโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุงและเมื่อลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็มีส่วนช่วยปรับปรุงการศึกษาด้านศาสนาในลาว แต่เมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์แล้ว การติดต่อให้ความช่วยเหลือทางศาสนาระหว่างประเทศก็หยุดชะงักลง แต่ถึงกระนั้นก็ตามชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นและพยายามประคับประคองพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ในจนถึงปัจจุบัน


สังคมศึกษา ม.2


ที่มา :  http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m2/Unit1/unit1-3.php

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ ม.2


สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ

การอยู่ร่วมกันในสังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติ เพื่อจะได้ควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติตนของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย   ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สังคมสงบสุข นั่นคือ สมาชิกในสังคมจะต้องปฏิบัติตนให้ตรงสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ที่ตนพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งการศึกษาถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยนั้น   จะช่วยเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ชอบธรรมเพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไป

สถานภาพ หมายถึง ฐานะหรือเกียรติภูมิของบุคคลหรือกลุ่ม เป็นตำแหน่งของบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งทีได้รับความนับถือจากสาธารณชน
กล่าวโดยสรุป สถานภาพเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้น เป็นสิ่งกำหนดเฉพาะตัวบุคคลที่ทำให้แตกต่างจากผู้อื่น
สถานภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่
สถานภาพทางวงศาคณาญาติ เช่น เป็นลูก หลาน พี่น้อง
สถานภาพทางเพศ เช่น เพศหญิง เพศชาย
สถานภาพทางอายุ เช่น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่
สถานภาพทางเชื้อชาติ เช่น คนไทย คนอังกฤษ
สถานภาพทางถิ่นกำเนิด เช่น คนในภาคเหนือ คนในภาคใต้
สถานภาพทางชนชั้นในสังคม เช่น เชื้อพระวงศ์ คหบดี หรือชนชั้นต่างๆ ในกลุ่มชนที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ชนชั้นพราหมณ์
สถานภาพที่ได้มาภายหลัง หมายถึง สถานภาพที่ได้จากการแสวงหาหรือได้มาจากความสามารถของตนเอง ได้แก่
สถานภาพทางการศึกษา เช่น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
สถานภาพทางอาชีพ เช่น เป็นครู เป็นหมอ หรือนักการเมือง
สถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เป็นนายกรัฐมนตรี
สถานภาพทางการสมรส เช่น โสด สมรส ม่าย
สังคมศึกษา ม.2

จดหมายเหตุของบุคคล ม.2

จดหมายเหตุของบุคคล 


จดหมายเหตุของบุคคลเป็นจดหมายเหตุประเภทหนึ่งที่กษัตริย์ เจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ฑูต พ่อค้าต่างชาติ ทำการบันทึกเรื่องราวที่พบและเป็นเรื่องสำคัญ อาจจะมีความรู้สึกส่วนตัว รวมไปถึงนโยบายในการปกครองบ้านเมืองเอาไว้ เช่น จดหมายเหตุโกษาปาน จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว เป็นต้น แม้ว่าจะให้รายละเอียดเรื่องความถูกต้องของเวลา แต่ก็มีข้อจำกัดว่าหลักฐานเหล่านี้ยอมมีความคิดเห็นของผู้บันทึกไว้ด้วย สำหรับหลักฐานของชาวต่างประเทศ ซึ่งมีความเชื่อ ความคิด วัฒนธรรมไม่เหมือนกับไทย จึงต้องมีการตรวจสอบให้ละเอียดก่อนนำไปใช้

ประวัติศาสตร์ ม.2

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

สิทธิของผู้บริโภค ม.2

สิทธิของผู้บริโภค


ตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไข พ.ศ.2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการดังนี้

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะได้รับการแสดงฉลากตามความจริง รวมถึงสิทธิที่จะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าตามความสมัครใจของผู้บริโภค โดยปราศจากการผูกขาดทางการค้าและชักจูงที่ไม่เป็นธรรม

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพที่ดี มีมาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินในกรณีใช้ด้วยความระมัดระัวัง

4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย หมายถึง สิทธิที่จะได้รับการชดเชยค่าเสียหายหากไม่ได้รับความเป็นธรรม

5. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

สังคมศึกษา ม.2

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ม.2

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

มีอยู่มากมายหลายประเภท แบ่งได้ดังนี้คือ


ลูกโลก (Globe)
ลูกโลก เป็นการย่อขนาดของโลกลงบนพื้นผิวแบบต่างๆ เช่น พลาสติก กระดาษอัด มีลักษณะทรงกลม (แบนเล็กน้อย คล้ายๆ กับส้ม) บนผิวของลูกโลกมีแผนที่โลก แสดงสภาพภูมิประเทศ  พื้นน้ำ  ภูเขา เมือง พิกัดทางภูมิศาสตร์

ลูกโลกส่วนใหญ่จะมีฐานรองรับ โดยให้วางแกนโลกให้เอียงตามลักษณะการหมุนรอบตัวเอง แต่ปัจจุบันมีลูกโลกที่สามารถลอยบนอากาศได้


ลูกโลกจะให้ข้อมูลทางลักษณะกายภาพของโลกเป็นลักษณะ ไม่เน้นลักษณะทางด้านสังคม แต่ก็ทำให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถมองเห็นได้ง่าย

สังคมศึกษา ม.2

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

พระเจ้าอโศกมหาราช

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น

สังคมศึกษา ม.2